บทความ

OTA คืออะำไร
dot dot
OTA : Update - On - Air article
 

 

เทคโนโลยีการอัพเดทข้อมูลผ่านดาวเทียม

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านดาวเทียมได้พัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากแนวโน้มของช่องรายการในระบบดาวเทียม ที่เพิ่มขึ้นจากทั่วทุกมุมโลกอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้เป็นผลมาจากการแข่งขันของผู้ผลิตรายการซึ่งให้ความสำคัญในความ หลากหลายทางด้านเนื้อหา ( Content ) ซึ่งถือเป็นทางเลือกของคนดูมากยิ่งขึ้น และนี่คือมูลเหตุขั้นพื้นฐานของการประยุกต์เทคโนโลยีระบบ OTA นั่นเอง ลองมาทำความเข้าใจกับแบบง่ายๆ ดีกว่าว่า คือ อะไร ทำอะไร และเป็นประโยชน์อย่างไร

 

OTA ย่อมาจาก Over The Air แปลเป็นไทยตรงๆ คือ ' ผ่านทางอากาศ ' หมายถึง การส่งข้อมูล ไม่ว่าจะป็นความถี่ ซอฟตืแวร์ หรือข้อความต่างๆ จากดาวเทียม ตรงสู่เครื่องรับสัญญาณที่รองรับฟังก์ชั่น OTA โดยที่เครื่องรับสัญญาณนั้นๆ จะต้องมีรหัส (หรือเรียกว่า Loader) ที่ตรงกับสัญญาณดาวเทียมที่ส่งลงมา ในที่นี้คือ เครื่องรับสัญญาณของ PSI รุ่น Dfix OTA นั่นเอง

การยิงสัญญาณ OTA มีอยู่ 2 ลักษณะคือ

1. Manual  -  เป็นการอัพเดทข้อมูลเองด้วยการกดรีโมท แล้วเข้าไปในเมนู จากนั้นทำการอัพเดทข้อมูลเอง ซึ่งระบบนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในภูมิภาคยุโรป เนื่องจากผู้คนในแถบนั้นมีความคุ้นเคย เคยชิน และเข้าใจระบบการรับสัญญาณดาวเทียมมานานมากแล้ว ถึงกระนั้นช่องรายการที่มีจำนวนมากหลากหลายนับพันช่อง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ ผู้ใช่ค่อนข้างเสียเวลากับการจัดการเพิ่มช่อง ลบช่อง หรือความถี่มากเกินไป

2. Auto - เป็นการอัพเดทแบบใหม่ ซึ่งทำได้โดยการเปิดทีวีปที่ช่องรายการ และวันเวลาที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ ซึ่งจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ( ในที่นี้ผู้ผลิตคือ PSI และช่องรายการที่ทำการ Auto Update ตือ MV TV นั่นเอง ) วิธีนี้จะเพิ่มความสะดวกสบาย ให้ผู้ใช้มากกว่าเดิม เพราะการอัพเดทข้อมูลต่างๆ จะทำโดยอัตโนมัติทันที ไม่จำเป็นต้องกดอะไรอีก ซึ่งการอัพเดทลักษณะนี้จะใช้เวลาน้อยมาก (ประมาณไม่ถึง 1 นาที)

 

อย่างไรก็ดี การอัพเดทวิธีนี้มีความซับซ้อนกว่าระบบ Manual มาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการเขียนซอฟต์แวร์ ต้นทุนที่สูงกว่า และที่สำคัญคือ ต้องมีการร่วมมือถันถึง  3 ฝ่าย นั่นคือ

A. ผู้ผลิต และผู้เขียนซอฟต์แวร์ ( ในที่นี้คือ PSI )

B. ช่องรายการที่ร่วมโครงการ ( ในที่นี่คือ ช่อง MV TV )

C. ดาวเทียมที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล ( ในที่นี้คือ ดาวเทียมไทยคม )

ข้อมูลที่เราจะส่งนั้นมี 3 ประเภท คือ

1. ความถี่ช่องรายการที่มีการเปลี่ยนแปลง (  Transponder List )

2. ซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ( S0ftware )

3. ข้อความ หรือ รูปภาพ ( Message & Picture )

ทาง PSI  จะส่งข้อมูลผ่านระบบ OTA ตามกรณีต่างๆ เช่น

1. กรณีช่องรายการ ย้าย / เปลี่ยนความถี่ ( Edit Channel )

ในอดีตที่ผ่านมา ทุกครั้งที่มีการย้าย / เปลี่ยนความถี่ ช่างติดตั้งจะเสียเวลาอย่างมากกับการเดินทาง ไปยังบ้านลูกค้า แต่ละรายเพื่อแก้ไขความถี่ หลังจากแก้ไขแล้ว จะต้องเรียงช่องรายการให้เหมาะสมอีก

ซึ่งกระบวนการดังกล่าว สิ้นเปลืองเวลาทั้งช่างติดตั้ง และทั้งผู้ใช้ ดัวผู้ใช้เองก็ต้องเสียเวลาในการรอช่างติดตั้ง ซึ่งอาจมีคิวเซอร์วิสอยู่หลายๆ ที่พร้อมกัน บางครั้งหากหมดระยะประกัน ช่างติดตั้งอาจคิดค่าบริการส่วนต่างเพิ่มอีก ซึ่งก็มีปัญหากับผู้ใช้อีก ปัญหาดหล่านี้จะหมดไป หารเรานำระบบ OTA เข้ามาใช้ ฉะนั้นผลดีในด้านยความสะดวกสะบาย ก็จะเป็นประโยชน์โดยตรงกับช่างติดตั้ง และผู้ใช้

2. กรณีมีช่องรายการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ( New Channel )

มีลักษณะคล้ายกับข้อ 1 แต่จะเป็นการเพิ่มความถี่ใหม่ ซึ่งไม่มีอยู่ในเครื่องเข้าไปแทน และทุกๆครั้ง ที่ทำการอัพเดทข้อมูลเสร็จสิ้น ทาง PSI จะส่งข้อความไปที่เครื่องรับสัญญาณโดยตรง เพื่อบอกว่า มีช่องอะไรเพิ่มขึ้นมา เป็นรายการประเภทอะไร ติดตามชมรายการเด่นๆ ได้เวลาใด เป็นต้น

3. กรณีมีการปรับปรุง / ตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องรับสัญญาณ ( Upgrade and Maintenance )

เครื่องรับสัญญามีระบบปฎิบัติการคล้ายกับคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กัน เมื่อใช้ไปนานๆ เครื่องจะสะสมข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์ไว้ ซ่งอาจทำให้เครื่องรับสัญญาณเกดิดอาการแฮ้งค์ (Hang) เหมือนคอมพิวเตอร์ได้ ฉนั้นทาง PSI จะทำการส่งซอฟต์แวร์ ไปยังเครื่องรับสัญญาณเพื่อทำการเช็คระบบ เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องรับสัญญาณจะทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น อีกทั้งหากทางฝ่ายวิจัย และพัฒนา (R&D) ได้เพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ลงไป ทาง PSI ก็จะทำการอัพเกรด (Upgrade) ซอฟต์แวร์ดังกล่าวไปสู่เครื่องรับสัญญาณทั่วประเทศได้ทันที

4. กรณีมีข่าวสารน่าสนใจ หรือกิจกรรมร่วมสนุกชิงรางวัล ( Infotainment )

กรณีนี้ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของการใช้ระบบ OTA ในการนำเสนอข่าวสารที่น่าสนใจของช่องรายการบนดาวเทียม สู่เครื่องรับสัญญาณของ PSI ที่มีฟังก์ชั่นรองรับระบบ OTA ยิ่งไปกว่านั้น PSI จะจัดกิจกรรมการตลาดร่วมสนุกชิงรางวัล ซึ่งเป็นมูลค่าเพิ่มของผู้ใช้เครื่องรับ ของ PSI ในระยะยาว

ขั้นตอนการทำงานอย่างง่ายๆ ของระบบ OTA มีดังนี้

 

  • ทาง PSI จะเป็นยผู้จัดทำซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็นรายการความถี่, ซอฟต์แวร์อัพเกรดระบบ หรือ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ
  • ทาง MVTV จะประชาสัมพันธ์ผ่านช่องรายการ MVTV เพื่อแจ้งให้ทราบว่าเมื่อไร จะมีการอัพเดทข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น  ' หากท่านประสงค์จะทำการอัพเดทข้อมูลผ่านระบบโปรดเปิดเครื่องรับสัญญาณไว่ ที่ช่อง MVTV 2 วัน... เวลา ... น '
  • ทาง PSI จะทำการส่งข้อมูล TS File ( Transport Stream ) ไปยังสถานีไทยคม เพื่อทำการยิงข้อมูลขึ้นสู่ดาวเทียม
  • เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องรับสัญญาณไว้ที่ช่อง MV TV2 ตามวันเวลาที่กำหนด เครื่องรับฯ จะทำการรับข้อมูลโดยตรงจากดาวเทียมไทยคม ซึ่งกระบวนการนี้ ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที

กล่าวโดยสรุป  ระบบ OTA เป็นเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกให้กับช่างติดตั้ง และผู้ใช้ เพราะปัจจุบัน การติดตั้งจานดาวเทียมเป็นที่แพร่หลาย เนื่องด้วยปัจจัยราคาที่ต่ำลง ประกอบกับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการรับทีวีผ่านดาวเทียม ที่มีมากขึ้น จึงส่งผลให้อัตราการเติบโตของตลาดจานดาวเทียมสูงขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้อัตราการเติบโตดังกล่าว ก็สัมพันธ์กับช่องรายการบนดาวเทียม ในปัจจุบันที่มีความหลากหลายมากขึ้นเช่นกัน และในขณะที่ช่างฯ เริ่มติดตั้งเป็นจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น การบริการหลังการขาย ก็ได้เพิ่มเป็นเงาตามตัว ระบบ OTA ( Update - On - Air ) จึงถือว่าเป็นมาตฐานใหม่ ที่สร้างความสะดวกสะบาย และเพิ่มมูลค่าสู่ผู้ใช้ได้โดยตรง